By: DH Team
อัปเดตล่าสุด March 1, 2024
Pseudo Code (soodo) ตามความหมายคือ "รหัสเทียม" ซึ่งเป็นการรวมเอา 2 คำมารวมกันก็คือ Pseudo ที่เป็น adjective (คำคุณศัพท์) ซึ่งในบริบทนี้แปลว่า "เทียม" โดยทาง Oxford ให้คำนิยามว่า "Not genuine" ซึ่งแปลว่าไม่ใช่ของจริงหรือเรียกว่าเทียมก็ได้เช่นกัน
และอีกคำหนึ่งคือ Code ซึ่งแปลว่า "รหัส"
ดังนั้นเมื่อนำมารวมกันก็จะได้เป็นคำว่า "รหัสเทียม"และนี่คือความหมายและคำนิยามแบบกระชับ ส่วนการใช้งานนั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีประโยชน์ไม่น้อย ซึ่งขั้นตอนการเขียน Pseudo code นี่แหละจะเป็นการอธิบายอัลกอริทึมและลอจิกต่าง ๆ ของของระบบ ซึ่งทำให้เรามอง flow งานของเราได้ชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ควรที่จะเขียน flowchart หรือไม่ก็ Pseudo code กันก่อนที่จะเริ่มเขียนโปรแกรมจริงกันครับ
Pseudo code ไม่สนใจว่าเราจะเขียนโปรแกรมมิ่งภาษาไหน เพราะว่าไม่ว่าจะเขียนภาษาอะไร ทุกคนสามารถเข้าใจ Pseudo Code ร่วมกันได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น บางคนเขียนภาษา Assembly
เมื่อนำโค้ดมาให้คนเขียนภาษา Python ดู อาจจะทำให้ให้คนเขียน Python งงเป็นไก่ตาแตก
แต่ถ้านำ Pseudo code มาให้ดู ก็จบเลย เข้าใจ เพราะมันคือภาษามนุษย์เรา ไม่ได้โฟกัสที่ syntax ของ Assembly
และแน่นอนครับว่า Pseudo Code นั้นไม่สามารถทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ เพราะมันไม่สามารถรันหรือคอมไพล์ได้ในทางตรงกันข้าม มันก็ทำให้มนุษย์โปรแกรมเมอร์เราเข้าใจได้ดีนั่นเองครับ โดยการเขียน Pseudo code เราจะเขียนเป็นโครงสร้างแบบลำดับ (Sequential Structure) คือเขียนตามลำดับการทำงานของโค้ดแต่ละบรรทัด
นี่คือตัวอย่างการเขียน Pseudo code แบบพื้นฐานสุด ๆ สำหรับการตื่นนอนขึ้นมาแล้วไปซื้อกาแฟ
เดินไปซื้อกาแฟ
ถ้าร้านเปิด
สั่งอเมริกาโน่ไม่ใส่น้ำตาล 1 แก้วครับ
ถ้าร้านไม่เปิด
โอ้ววว ร้านปิดนี่นา
กลับบ้าน
ลองนำ Pseudo code ด้านบนมาเขียนเป็นภาษาไพธอนแบบง่าย ๆ ในรูปแบบของฟังก์ชัน
cafe_open = True
def buy_coffee(): if cafe_open: print("สั่งอเมริกาโน่ไม่ใส่น้ำตาล 1 แก้วครับ") else: print("โอ้ววว ร้านปิดนี่นา") print("กลับบ้าน")
buy_coffee()
ขอแนะนำ 📒 คอร์สเรียน Full Stack Developer 2024 by devhub.in.th คอร์สเดียวของเพจในตอนนี้ สอนแบบเนื้อ ๆ เน้น ๆ Back-end ใช้ Python ส่วน Front-end ใช้ Vue.js เสริมด้วย Docker, Advanced Git, Deployment ฯลฯ เนื้อหาจัดเต็ม ในราคาหลักพันที่ทุกคนจับต้องได้ คลิกเพื่อดูรายละเอียดและลงทะเบียนได้เลยครับ
แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคนได้เลยครับ บางคนก็เขียนใส่กระดาษ บางคนก็เขียนใส่ในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Microsoft Word, Notepad, etc แต่สำหรับแอดมินนั้น ชอบเขียนใส่ Notepad ครับสะดวกดี เปิดปุ๊บ เขียนได้ปั๊บ และมันก็ยังเป็นหนึ่งในวิธีสุดฮิตนั่นเองครับ
ตัวอย่างโปรแกรม Notepad แบบ Online ใช้สำหรับเขียน Pseudocode ได้สะดวกมาก ๆ
ตัวอย่างโปรแกรม Nodepad แบบออนไลน์ชื่อ memonotepad.com ซึ่งใช้งานสะดวกมากครับ แนะนำ
อ้างอิง
เปิดโลกการเขียนโปรแกรมและ Software Development ด้วย online courses ที่จะพาคุณอัพสกิลและพัฒนาสู่การเป็นมืออาชีพ เรียนออนไลน์ เรียนจากที่ไหนก็ได้ พร้อมซัพพอร์ตหลังเรียน
เรียนเขียนโปรแกรม