By: DH Team
อัปเดตล่าสุด July 10, 2023
เว็บไซต์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จำเป็นมากสำหรับธุรกิจ เพราะว่ามันเปรียบเสมือนบ้านของเราจริง ๆ ในโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่ช่องทางแบบโซเชียลมีเดียที่วันดีคืนดีเจ้าของแพลตฟอร์มอาจจะทำอะไรบางอย่างที่ทำให้เพจหรือช่องทางนั้นของเราปลิวไปได้ ในบทความนี้ผมจะมาแนะนำวิธีในการสร้างเว็บไซต์ ว่ามีกี่วิธี ทำได้อย่างไรบ้างทั้งแบบเขียนโค้ดสำหรับสาย coding จ๋า ๆ และแบบสาย low code ที่ไม่ต้องการเขียนโค้ด
ปล. ในบทความนี้เราไม่ได้มาสอนวิธีการทำเว็บ แต่เราจะมาแนะนำวิธีต่าง ๆ เพื่อเป็นไกด์ไลน์หรือแนวทางให้ครับ
เว็บไซต์ (website) คือ หน้าเว็บเพจหลาย ๆ หน้าที่รวมกันเป็นหน้าเว็บโดยสามารถเข้าถึงได้แบบสาธารณะ จุดประสงค์หลักเพื่อนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร บริการ ฯลฯ ของบริษัท ห้างร้าน องค์กร หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้น ๆ โดยเบื้องลึกเบื้องหลังของเว็บไซต์นั้นแน่นอนว่าต้องมีภาษาโปรแกรมมิ่งมาเกี่ยวข้องเพื่อรวมร่าง สร้างกันขึ้นมาเพื่อเป็นหน้าเว็บ โดยภาษาที่ว่าก็คือ HTML, CSS และ JavaScript
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็บไซต์กันแล้ว ต่อมาก็จะเป็นการแนะนำวิธีการสร้างเว็บไซต์ โดยผมจะขอแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังต่อไปนี้คือ
นี่คือแบบแรก แบบนี้จะเหมาะกับสายโค้ดดิ้งหรือสายโปรแกรมเมอร์ โดยเราจะต้องเลือกภาษาหรือเทคโนโลยีที่จะใช้เขียนตามความถนัด และในโลกนี้ก็มีร้อยแปดพันเก้าเทคโนโลยี ในส่วนนี้ผมเลยจะขอยกมาบางภาษาและเฟรมเวิร์คที่เป็นที่นิยมครับทั้งในส่วนของ Back-end และ Front-end
บทความแนะนำ: Front-end vs Back-end
Back-end Web Framework
ชื่อ | ภาษา |
Django | Python |
Laravel | PHP |
Ruby on Rails | Ruby |
ASP.NET | C# |
Spring Boot | Java |
Express.js | Node.js (JavaScript) |
Sympony | PHP |
ขอแนะนำ: คอร์สเรียนสร้างเว็บไซต์ด้วยภาษา Python ด้วย Django เฟรมเวิร์ค แบบ private
Front-end Web Frameworks
เฟรมเวิร์ค | ภาษา |
Angular | JavaScript |
React | JavaScript |
Vue | JavaScript |
Svelte | JavaScript |
Note: เฟรมเวิร์ค JavaScript ด้านบนเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะใช้ทำเว็บแบบ SPA (Single Page Application) จุดเด่นก็คือทำให้หน้าเว็บมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ใช้เป็นอย่างดี สร้างประสบการณ์ใช้งาน (UX: User Experience) ต่อผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี แต่จุดด้อยคือ ไม่ค่อยเป็นมิตรสำหรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งก็อาจจะต้องมีไลบรารีอื่น ๆ ของเฟรมเวิร์คนั้นมาเสริม เช่น React ก็จะเป็น Next.js ส่วน Vue ก็จะเป็น Nuxt.js เป็นต้น
CSS (Cascading Style Sheet) Frameworks
CSS เป็นภาษาที่เอาไว้ใช้สำหรับตกแต่งหน้าตาของเว็บให้สวยงาม ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งภาษาที่ต้องรู้สำหรับนักพัฒนาเว็บ ยิ่งถ้าเป็นฝั่ง Front-end Dev นี่ยิ่งต้องรู้พอสมควร
เฟรมเวิร์ค | ลักษณะการใช้งาน |
Bootstrap | ง่ายต่อการใช้งาน เป็นที่นิยมสูงสุด |
Tailwind | ยากกว่า Bootstrap ขึ้นมานิดหนึ่ง แต่สามารถปรับแต่ (Customize) ได้ดีกว่ามาก |
Bulma | ง่ายต่อการใช้งานและขนาดไฟล์เล็กกว่า Bootstrap |
แต่พื้นฐานที่สุดเลย ก็คือ ภาษา HTML ทุกคนต้องรู้ครับ ถ้าจะมาสาย Web Dev (ซึ่งมันก็เรียนรู้และเป็นภาษาที่ง่ายที่สุดแล้ว) ดังนั้นจึงถือว่าเป็นภาษาที่ทุกคนที่ทำเว็บต้องรู้ ละไว้ในทางที่รู้กันครับ
แบบนี้จะเหมาะกับคนที่ไม่อยากลงมือเขียนโค้ด โดยเราจะต้องใช้เทคโนโลยีจำพวก CMS และ Website Builders ต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยม สะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่ายก็มีอยู่มากมายหลายตัวในตลาดตอนนี้ครับ
WordPress ซึ่งถือเป็น CMS ที่นิยมที่สุด
CMS (Content Management System)
ชื่อ CMS | ลักษณะการใช้งาน |
WordPress | สำหรับทำเว็บไซต์บริษัท เว็บบล็อก หรือทำได้แทบทุกรูปแบบ (นิยมที่สุด) |
Woo-commerce | สำหรับทำเว็บอีคอมเมิร์ชโดยเฉพาะ |
Joomla | เป็น CMS ที่อาจจะต้องใช้เวลาเรียนรู้นานกว่า WordPress |
Website Builders
ชื่อ | ลักษณะการใช้งาน | ค่าใช้จ่าย |
Wix | ใช้งานง่าย มีเทมเพลตให้เลือกใช้งานเยอะมาก | Free Plan & Premium Plan |
Weebly | ใช้งานง่าย เพียงแค่ลากและวาง | Free Plan & Premium Plan |
Squarespace | ใช้งานง่าย เพียงแค่ลากและวาง | Premium Plan |
Shopify | สำหรับทำเว็บอีคอมเมิร์ชขายสินค้าโดยเฉพาะ | Premium Plan |
Google Site | ใช้งานง่าย แต่มีเทมเพลตให้เลือกไม่มาก | Free |
Wix แพลตฟอร์มสำหรับสร้างเว็บไซต์ในรูปแบบลากและวาง (Drag & Drop) ยอดนิยมอีกตัวในปัจจุบัน
เปิดโลกการเขียนโปรแกรมและ Software Development ด้วย online courses ที่จะพาคุณอัพสกิลและพัฒนาสู่การเป็นมืออาชีพ เรียนออนไลน์ เรียนจากที่ไหนก็ได้ พร้อมซัพพอร์ตหลังเรียน
เรียนเขียนโปรแกรม