อัปเดตล่าสุด March 29, 2023
สิ่งที่เราจะได้เรียนจากบทความนี้
ตัวแปร (Variable) ในทางโปรแกรมมิ่ง คือ ชื่อที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่ออ้างอิงหรือเป็นตัวแทนของออปเจ็คท์ (Object) หรือค่าของข้อมูลนั้น ๆ โดยคอมพิวเตอร์จะทำการจัดสรรหน่วยความจำ (memory) ไว้ให้กับตัวแปร
ให้เรามองว่าตัวแปรเป็นกล่องหรือคอนเทนเนอร์ ๆ หนึ่ง ที่เอาไว้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ข้อมูลนี้เราจะนำไปทำอะไรต่อก็สะดวก พูดง่าย ๆ เลยก็คือตัวแปรเปรียบเสมือนตัวแทนของข้อมูลนั่นเอง เราไม่ต้องเรียกข้อมูลโดยตรง แต่เราจะเรียกผ่านตัวแปร
var1 = "Hello World"
var2 = " from devhub.in.th"
วิธีการประกาศตัวแปรใน Python ก็สามารถทำได้โดยการใช้ <ชื่อตัวแปร> = <ค่าของตัวแปร> จากตัวอย่างด้านบนเราประกาศตัวแปรชื่อ var1 และ var2
var3 = var1+var2
print(var3)
# Hello World from devhub.in.th
โดยการนำมาใช้ก็ง่าย ๆ แค่เรียกใช้ผ่านชื่อตัวแปรที่เราตั้งเลย เมื่อเรานำมาต่อบวกกันก็จะได้ข้อความที่ต่อกันดังตัวอย่างด้านบน
โดยในการประกาศตัวแปรนั้น คอมพิวเตอร์ ก็จะมีประเภทของข้อมูล (Data Type) โดยในตัวอย่างข้างบนเป็นการประกาศตัวแปรประเภทข้อความ
การประกาศตัวแปรที่เป็นตัวเลข
int_var = 20
การประกาศตัวแปรแบบเลขทศนิยม
float_var = 20.20
หากต้องการเก็บข้อมูลตัวแปรมากกว่าหนึ่งตัว เราสามารถใช้ข้อมูลประเภท Array(List), Tuple, Dict ได้
array_var = [1, 2, 3, 4, 5]
โดยใน Python นั้นตัวแปรสามารถประกาศเป็น Type ไหนก็ได้เปลี่ยนไปมาได้ และไม่จำเป็นต้องกำหนดประเภทตัวแปรก่อน เราจะเรียกภาษาที่ต้องกำหนดประเภทตัวแปรว่า Static Typing ส่วนที่ไม่ต้องกำหนดจะเรียกว่า Dynamic Typing ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ JavaScript กับ TypeScript
float_var = 20.20
float_var = "Hello World" # สามารถเปลี่ยนแบบนี้ได้เลย
หากเราต้องการทราบค่าของตัวแปร บาง IDE อาจจะสามารถดูข้อมูลตัวแปรนั้นได้ หรือตัวยอดนิยมอย่าง Jupyter Notebook นั้นแค่พิมชื่อตัวแปรมันก็จะแสดงผลให้เราเลย แต่บางตัวอย่าง PyCharm อาจไม่บอกมาเราสามารถให้โปรแกรม output ข้อมูลออกมาได้ด้วยคำสั่ง print()
print("Hello World")
Hello World
ใน Python จะมีมาตรฐานการตั้ง styling นั่นคือมาตรฐาน PEP8 และการตั้งชื่อตัวแปรหรือสิ่งอื่นที่สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าตัวแปรนี้มีไว้ทำอะไร เพื่อให้สะดวกเวลาที่เราทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือหากในอนาคตหากเราไม่ได้แก้ไข code ชุดนี้เป็นเวลานานเวลากลับมาอ่านจะได้สามารถเข้าใจได้ว่าตัวแปรนี้มีไว้เพื่ออะไร
การ comment นั้นคือการเขียนที่จะไม่ถูกนำไปรันคำสั่งเวลาที่โปรแกรมรัน แต่ใช้เพื่อบันทึกหรืออธิบายการทำงานของ code ให้ตัวเองหรือผู้อื่นมาอ่านแล้วเข้าใจสามารถทำได้ดังนี้
กรณีที่เขียนบรรทัดเดียวสามารถใส่ # นำหน้า หรือใส่ด้านหลัง code ก็ได้
print("Hello World") # comment ส่วนนี้ข้างหลัง print จะไม่ถูกรัน
#บรรทัดนี้เช่นกัน
กรณีที่มีมากกว่าหนึ่งบรรทัดสามารถใช้ Triple Quote (มักจะใช้อธิบาย function หรือ method)
""" Multi line comment ข้อความข้างในจะไม่ถูกรัน """ print("Hello World")
20 = "Hello World" #Syntax Error
_20 = "Hello World"
val = "Hello World"
print(Val) #Name Error
Python Reserved Words (คำสงวนในภาษา Python)
ใน Python ตัวแปรจะมี scope อยู่ 4 แบบโดยสองตัวนั้นจะเป็น Global, Local ซึ่งจะเจอเรื่องนี้อีกทีตอนที่เราเรียนถึง Function, Class โดยตัวแปร Global จะเป็นตัวแปรที่ทุกตัวสามารถเข้าถึงได้แต่ Local นั้นจะเข้าถึงได้แค่ใน Function/Class นั้นๆ
ตัวแปรเปรียบเสมือนกล่องที่ไว้เก็บข้อมูล เราจะเข้าถึงข้อมูลโดยการเรียกใช้งานตัวแปร โดยคอมพิวเตอร์จะจัดสรรพื้นที่ memory ไว้เก็บพวกนี้อีกที และเราควรตั้งชื่อตัวแปรต่างๆตามหลัก PEP8 และสื่อความหมาย
เปิดโลกการเขียนโปรแกรมและ Software Development ด้วย online courses ที่จะพาคุณอัพสกิลและพัฒนาสู่การเป็นมืออาชีพ เรียนออนไลน์ เรียนจากที่ไหนก็ได้ พร้อมซัพพอร์ตหลังเรียน
คอร์สเรียนเขียนโปรแกรม