บทความนี้มีชื่อว่า "วัฒนธรรมไร้ซึ่งการตำหนิ (Blameless Culture) ควรเป็นมาตรฐานในวงการวิศวกรรม (ซอฟต์แวร์)" อ่านแล้วน่าสนใจ เขียนโดยคุณ Gregor Ojstersek วิศวกรซอฟต์แวร์ (software engineer) ที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี เจ้าของช่องสุดฮิตบน substack อย่าง Engineering Leadership ที่มียอดซัพผ่าน newsletter มากกว่า 47K+ subscribers โดยขอนำมาแปลและเรียบเรียงให้เพื่อน ๆ สมาชิกได้อ่านกันครับ


การโทษกันไปมา ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา

ตลอดอาชีพของคุณ Gregor นั้น แกได้เห็นทั้งวัฒนธรรมที่ดีและไม่ดีในองค์กรต่าง ๆ มามากมาย และได้พบว่า จุดร่วมของวัฒนธรรมที่ไม่ดี (Bad Culture) คือ การโทษกันเอง ส่งผลให้พนักงานไม่กล้าพูดความจริง ทั้งยังได้เล่าถึงประสบการณ์ของตัวแกเองที่เคยเอาแต่โทษผู้อื่นในช่วงเริ่มต้นอาชีพ

"การโทษกันไปมา ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา การพยายามหาตัวผู้รับผิดชอบ นั้นเสียเวลาเปล่า เพราะกระบวนการทำงานปกติมีการตรวจสอบโค้ดหลายขั้นตอนอยู่แล้ว เช่น code review, automated test, QA testing"


ข้อดีของ Blameless Culture

คุณ Gregor เคยเป็นผู้ที่เขียนโค้ดที่ก่อปัญหามาแล้ว หรือเคย approve โค้ดที่มีปัญหานี้ผ่าน code review ประสบการณ์ตรงนี้ทำให้แกเปลี่ยนมุมมอง ไม่มีการโทษคนอื่นอีกต่อไป

สิ่งที่ต้องการที่ว่าคือ "การสร้างวัฒนธรรมไร้การตำหนิ (Blameless Culture)" ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่พนักงานกล้าทำผิดพลาดโดยไม่ถูกต่อว่าหรือตำหนิ โดยวัฒนธรรมนี้มีข้อดีหลายอย่าง เช่น

  • ✅ 1. พนักงานกล้าพูดในสิ่งที่คิดเห็น ไม่กลัวผลลัพธ์ที่จะตามมา ทำให้ได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ
  • ✅ 2. เมื่อไม่ถูกตำหนิ พนักงานกล้าเผยข้อผิดพลาด ทำให้ทีมเรียนรู้และป้องกันปัญหาได้เร็วยิ่งขึ้นจากความผิดพลาด
  • ✅ 3. เมื่อไม่มีการโทษกันไป ทำให้พนักงานร่วมไม้ร่วมมือกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • ✅ 4. พนักงานมุ่งมั่นแก้ไขข้อผิดพลาดและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น


ดังนั้นคุณ Gregor แกจึงแนะนำอีกว่า เมื่อเกิดปัญหา ควรเน้นการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่หาคนผิด

เพราะเมื่อไม่มีการตำหนิ พนักงานจะทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ช่วยให้ทุกคนเติบโตและสร้างสรรค์ผลงานที่ดียิ่งขึ้นไปอีก


อ้างอิง